หัวข้อความรู้

การจัดการหลังการเก็บเกี่ยว


การจัดการหลังการเก็บเกี่ยว เป็นศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการทำความสะอาดผลิตผล การบรรจุ การเก็บรักษาผลิตผล และการขนส่ง ทั้งนี้จะขอเพียงแนะนำเอกสารเพื่ออ่านเพิ่มเติม เกี่ยวกับการจัดการหลังการเก็บเกี่ยว (ภาษาอังกฤษ) ของ L.Kitinoja and A.A.Kader, "Small-Scale Postharvest Handling Practices: A Manual for Horticultural Crops (4th Edition)"

ในที่นี้ จะขอนำเสนอข้อมูลตัวอย่างเพียงเพื่ออาจเป็นประโยชน์แก่ผู้ผลิตรายย่อย เพื่อนำไปดัดแปลงใช้ตามความเหมาะสมต่อไป

หมายเหตุ สำหรับผู้ผลิตที่ต้องการส่งออกผลิตผลไปต่างประเทศ การออกแบบลานล้างและคัดบรรจุ จะต้องมีความเคร่งครัดมากขี้น เนื่องจากในการส่งผลิตผลทางการเกษตรไปต่างประเทศ จะมีข้อกำหนดที่เคร่งครัดในเรื่องการปนเปื้อนของแมลงในผลิตผล อีกทั้งยังมีข้อกำหนดที่แตกต่างกันออกไปตามประเทศคู่ค้า ดังนั้น จึงขอแนะนำให้ปรีกษาหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของกรมวิชาการเกษตร เช่น หน่วยงานรับรอง GAP หรือ หน่วยงานรับรอง GMP ก่อนที่จะลงมือออกแบบลานล้างและคัดบรรจุต่อไป


ตัวอย่างแบบลานล้างและคัดบรรจุ (ที่ทางไร่ใช้ ปี 2556)

การออกแบบในที่นี้ จะเน้นเรื่องเส้นทางการไหลของผลิตผลเป็นสำคัญ นั่นคือให้ผลิตผลเดินทางทางเดียวจากแปลงผักจนไปถึงห้องเก็บผลิตผล โดยได้แสดงแบบตัวอย่าง ตามแผนภาพข้างล่างนี้

post-harvest facilities

ตัวเลขในแผนภาพแสดง

  • 1. โต๊ะวางผลิตผลขนาดยาว สำหรับวางผลิตผลที่มาจากไร่ เพื่อตัดแต่ง --ดูแบบ--
  • 2. อ่างพลาสติก สำหรับล้างน้ำแรก --ดูแบบ--
  • 3. โต๊ะวางผลิตผลขนาดสั้น สำหรับพักผลิตผล --ดูแบบ--
  • 4. อ่างล้างสแตนเลส สำหรับล้างน้ำที่สอง --ดูแบบ--
  • 5. อ่างล้างสแตนเลส สำหรับล้างน้ำที่สาม --ดูแบบ--
  • 6. โต๊ะวางผลิตผลขนาดยาว สำหรับพักผลิตผล --ดูแบบ--
  • 7. เครื่องปั่นแห้ง สำหรับปั่นเพื่อสลัดน้ำออกจากผลิตผล
  • 8. ห้องคัดบรรจุ สำหรับคัดบรรจุ ชั่งน้ำหนัก
  • 9. ห้องเย็น สำหรับเก็บรักษาผลิตผลก่อนนำส่งหรือจำหน่ายต่อไป

โดยแบบลานล้างที่ทางไร่ใช้นั้น ได้ดัดแปลงมาจากแบบของ Leopold Center for Sustainable Agriculture: --LINK--.

หมายเหตุ น้ำที่ใช้ในการล้างผลิตผล โดยเฉพาะน้ำสุดท้าย ในกรณีที่ดีที่สุด ควรเป็นน้ำในระดับที่เป็นน้ำดื่ม ทั้งนี้ สำหรับทางไร่ที่ไม่มีน้ำประปา และมีการบำบัดน้ำเอง อาจมีการเติมคลอรีนเพื่อฆ่าเชื้อในน้ำและอาจมีประโยชน์ในการฆ่าเชื้อที่ตัวผลิตผลเอง อย่างไรก็ดี ข้อกำหนดทางเกษตรอินทรีย์ของแต่ละหน่วยงานและแต่ละประเทศ ยังมีความแตกต่างกัน ในเรื่องการอนุญาติหรือไม่อนุญาตให้ใช้คลอรีน รวมถึงปริมาณที่อนุญาติให้ใช้ จึงขอแนะนำให้ปรีกษาหน่วยงานเกษตรอินทรีย์ที่ทางผู้ผลิตต้องการขอรับรอง ก่อนวางแผนใช้คลอรีนต่อไป ในที่นี้จะขอเพียงแนะนำแหล่งความรู้อ้างอิง(ภาษาอังกฤษ) เกี่ยวกับการใช้คลอรีนเพื่อการฆ่าเชื้อดังต่อไปนี้ T.Suslow,"Postharvest Handling for Organic Crops" และ Chlorination-faq @ CDC.gov


ตัวอย่างแบบห้องเย็น

การเก็บรักษาผลผลิตหลังการเก็บเกี่ยวมีความสำคัญมาก โดยเฉพาะผักใบ เพราะจะสูญเสียความชื้นและเหี่ยวเฉาอย่างรวดเร็ว หากมิได้เก็บในอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ที่พอเหมาะ

ดังนั้นในที่นี้ จีงขอนำเสนอหลักการเบื้องต้นในการออกแบบห้องเย็นขนาดเล็ก เพื่อเป็นแนวทางสำหรับผู้ผลิตรายย่อยต่อไป โดยสามารถอ่านข้อมูล (ภาษาอังกฤษ) ในการออกแบบเพิ่มเติมได้จาก J.F.Thompson and M.Spinoglio, "Small-Scale Cold Rooms for Perishable Commodities"

ข้อแนะนำในการออกแบบห้องเย็นขนาดเล็ก

  • ควรเผื่อช่องว่างห่างจากผนังข้างประมาณ 15 ซม. และห่างจากผนังบน 30 ซม. เพื่อให้อากาศเย็นไหลเวียนได้สะดวก
  • เว้นที่ไว้ให้คอยล์เย็นที่ด้านหลังห้อง
  • เว้นที่สำหรับทางเดิน แนะนำให้ใช้ทางเดินขนาดอย่างน้อยประมาณ 90 ซม.
  • สิ่งที่ต้องทราบก่อนการออกแบบ
    • ชนิดของผักหรือผลไม้ที่ต้องการเก็บ เพื่อระบุอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ที่ต้องการ
    • ปริมาณผักพร้อมบรรจุภัณฑ์ที่ต้องการเก็บ

ตัวอย่างแบบแปลนห้องเย็นและการจัดวางชั้นวางเพื่อเก็บผักสลัดของทางไร่ ได้แสดงไว้ในแผนภาพข้างล่าง

cold storage

คำอธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับห้องเย็นในแบบ

  • ขนาดภายนอกของห้องเย็น กว้าง 2.94 ม. ยาว 5.80 ม. สูง 2.40 ม. ประตูกว้าง 90 ซม.
  • บรรจุภัณฑ์ที่ใช้เป็นลังพลาสติก มีขนาดภายนอก 39.5 ซม. x 66.5 ซม. x 21.0 ซม. ภายในบรรจุได้ 41 ลิตร บรรจุผักสลัดได้ประมาณ 4-5 กก. (ในกรณีนี้ มิได้มีถุงบรรจุผักสลัดอีกที แต่มีกระดาษห่อผักโดยรอบในตะกร้า โดย 4 กก. ผักจะไม่แน่นเกินไป)
  • มีชั้นวางสองแบบ
    • แบบ A สามารถบรรจุได้ 32 ลัง
    • แบบ B สามารถบรรจุได้ 10 ลัง

ดังนั้น ห้องเย็นนี้สามารถเก็บลังพลาสติกได้ทั้งหมด 32×6+10×2=212 ลัง และจะเก็บผักสลัดได้ประมาณ 800-1,000 กก.

ตารางข้างล่างแสดงอุณหภูมิ และความชื้นสัมพัทธ์ ที่เหมาะสมแก่การเก็บรักษาผลิตผลบางชนิด ทั้งนี้สำหรับผลิตผลบางอย่าง ควรผ่านการบ่มก่อน เพื่อให้สามารถเก็บรักษาผลิตผลได้นานขึ้น โดยสภาพที่ใช้ในการบ่ม ได้ระบุไว้ในคอลัมน์สุดท้ายของตาราง


ตารางแสดงสภาพที่เหมาะสมแก่การเก็บผลิตผลบางชนิด†

ชื่อผลิตผล อุณหภูมิ
(°C)
ความชื้น
สัมพัทธ์
(%)
ระยะเวลา
ที่เก็บได้
ผลจาก
เอธิลีน**
การบ่ม
กระท้อน 13-15 85-90 ไม่ระบุ -  
กระเจี๊ยบหวาน* 7-10 90-95 1-2 สัปดาห์ มี  
กระเทียม 0 60-70 6-9 เดือน -  
กล้วย 13-14 90-95 1-4 สัปดาห์ มี  
กะหล่ำดอก 0 90-95 2-3 สัปดาห์ -  
กะหล่ำปลี 0 95-98 3-6 สัปดาห์ มี  
ขนุน 13-15 85-90 ไม่ระบุ -  
ข้าวโพดหวาน 0 95-98 4-7 วัน -  
คื่นช่าย 0 98-100 2-4 สัปดาห์ มี  
แคนตาลูป* 2-7 90-95 1-2 สัปดาห์ มี  
แครอท 0 98-100 4-5 เดือน มี  
เงาะ 13-15 85-90 ไม่ระบุ -  
ต้นหอม 0 95 3-4 สัปดาห์ -  
แตงกวา* 10-13 90-95 1-2 สัปดาห์ มี  
แตงโม* 10-13 90-95 2-3 สัปดาห์ -  
บร็อคโคลี่ 0 90-95 2-3 สัปดาห์ มี  
ปวยเล้ง 0 95-100 1-2 สัปดาห์ มี  
ผักสลัด 0 98-100 2-3 สัปดาห์ มี  
ฝรั่ง 13-15 85-90 ไม่ระบุ -  
พริก* 7-10 60-70 2-3 สัปดาห์ มี  
พริกหยวก* 7-13 90-95 2-3 สัปดาห์ มี  
ฟักทองพื้นบ้าน* 10-13 50-70 2-6 เดือน - 27°C RH***85% 7-14วัน
มะเขือเทศ (เริ่มสุก)* 13-21 90-95 1-3 สัปดาห์ มี  
มะเขือเทศ (สุก)* 7-10 90-95 1 สัปดาห์ มี  
มะเขือม่วง* 10-13 90-95 1-2 สัปดาห์ มี  
มะนาว 10-13 85-90 1-6 เดือน -  
มะม่วง 13-15 85-90 ไม่ระบุ -  
มะละกอ 13-15 85-90 ไม่ระบุ -  
มังคุด 13-15 85-90 ไม่ระบุ -  
มันฝรั่ง 7-10 90-98 5-12 เดือน มี 18°C RH85% 10-14วัน
ลองกอง 13-15 85-90 ไม่ระบุ -  
ลำไย 0-2 90-95 ไม่ระบุ -  
ลิ้นจี่ 4.5 90-95 ไม่ระบุ -  
สับปะรด 13-15 85-90 ไม่ระบุ -  
ส้ม 4.5 90-95 ไม่ระบุ -  
เสาวรส 13-15 85-90 ไม่ระบุ -  
หน่อไม้ฝรั่ง 0-2 95-100 2-3 สัปดาห์ มี  
หัวไชเท้า 0 95-100 1-2 สัปดาห์ -  
หัวหอม 0 65-70 6-9 เดือน - 35°C RH50% 3-5วัน
เห็ด 0 95 12-17 วัน -  
†ข้อมูลจาก T.Coolong, "Recommended Storage Conditions for Vegetables", J.Bachmann and R.Earles, "Postharvest Handling of Fruits and Vegetables"และ McGregor, B.M J989. Tropical Products Transport Handbook USDA Office of Transportation, Agricultural Handbook 668.
*ผลผลิตที่อาจเกิดการช้ำ หากเก็บที่อุณหภูมิที่ต่ำเกินไป
**ผลผลิตบางชนิดจะเสียเร็วขี้น หรือเสียคุณสมบัติที่ดีไป เมื่อสัมผัสก๊าซเอธิลีนในอากาศ เอธิลีนเป็นฮอร์โมนธรรมชาติที่ผลไม้หรือผักบางชนิดสร้างขี้นเมื่อสุก ตัวอย่างของพืชผลที่ก่อสารเอธิลีนได้แก่ กล้วย แคนตาลูป ฝรั่ง มะม่วง มะละกอ มังคุด มะเขือเทศ เสาวรส เป็นต้น
***RH: Relative Humidity (ความชื้นสัมพัทธ์)